วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เครื่องตรวจวินิฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging, MRI)



เครื่องตรวจวินิฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging, MRI)

 



     

    คือ การตรวจร่างกายโดยเครื่องตรวจที่ใช้คลื่นสนามแม่เหล็กความเข้มสูงและคลื่นความถี่ในย่านความถี่วิทยุ ในการสร้างภาพเหมือนจริงของอวัยวะภายในต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะ สมอง หัวใจ กระดูก-กล้ามเนื้อ และส่วนที่เป็นมะเร็งด้วยคอมพิวเตอร์รายละเอียดและความคมชัดสูง เป็นภาพตามระนาบได้ทั้งแนวขวาง แนวยาวและแนวเฉียง เป็น 3 มิติ ภาพที่ได้จึงจะชัดเจนกว่า การตรวจเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ แบบ CTScan ทำให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติในร่างกายได้อย่างแม่นยำ  การตรวจด้วยวิธีนี้จำเป็นต้องใช้เวลาประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ต้องการตรวจ


การตรวจเอ็มอาร์ไอดีอย่างไร



           ไม่มีรังสีเอ็กซ์ที่เป็นอันตรายแก่ร่างกาย ทำให้สามารถตรวจในผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ในช่วง 6 เดือน - 9 เดือนได้หากมีข้อบ่งชี้การส่งตรวจที่เหมาะสม โดยพยายามหลีกเลี่ยงการตรวจในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
             สามารถทำการตรวจได้แม้เป็นโรคไตวายโดยไม่จำเป็นต้องฉีดสารทึบรังสี

            โอกาสแพ้สารที่ใช้ในการตรวจ (Gadolinium) น้อยมาก เมื่อเทียบกับสารทึบรังสีที่ใช้ในการตรวจเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์


วัตถุประสงค์ของการตรวจ เอ็ม อาร์ ไอ


1.ตรวจหาความผิดปกติของสมอง ได้แก่
·         สมองขาดเลือด
·         เนื้องอก
·         สาเหตุการชัก
·         การอักเสบติดเชื้อของเนื้อสมองและเยื่อหุ้มสมอง

2.ตรวจหาความผิดปกติของระบบกระดูกสันหลังและไขสันหลัง
·         หมอนรองกระดูกเคลื่อน
·         เนื้องอกไขสันหลัง
·         การติดเชื้อ
·         บาดเจ็บไขสันหลัง









             3.ตรวจหาความผิดปกติของหลอดโลหิตในสมองและลำตัว โดยไม่ต้องฉีดสารทึบรังสี








4.ตรวจหาความผิดปกติของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ กระดูกส่วนต่างๆ รวมทั้งการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นบริเวณข้อกระดูก เช่น ข้อเข่า








5.ตรวจหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับอวัยวะในอุ้งเชิงกราน เช่น มดลูก ต่อมลูกหมาก และกระเพาะปัสสาวะ







            6.ตรวจหาความผิดปกติต่างๆ บริเวณทรวงอก หัวใจ ช่องท้อง ท้องและเต้านมสตรี


7.การตรวจพิเศษอื่นทางเอ็ม อาร์ ไอ อื่นๆ เช่น MR Perfusion หรือ MR spectroscopy




ข้อบ่งชี้และข้อดีในการใช้ MRI

MRI สามารถให้ภาพที่แยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อต่างๆ ได้ชัดเจน ทำให้มีความถูกต้องแม่นยำในการ
 วินิจฉัยโรคมากยิ่งขึ้น อีกทั้งสามารถทำการตรวจได้ ในทุกๆระนาบ ไม่ใช่เฉพาะแนวขวางอย่างเอกซเรย์
คอมพิวเตอร์
•   ใช้ได้ดีกับส่วนที่ไม่ใช่กระดูก (non bony parts) คือเนื้อเยื่อ (soft tissues) โดยเฉพาะสมอง  เส้นประสาท
ไขสันหลัง และเส้นประสาทในร่างกาย (CT scan ดูภาพกระดูกได้ดีกว่า)
•   ใช้ได้ดีกับ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นยึดกระดูกและกล้ามเนื้อ
•   สามารถตรวจเส้นเลือดได้โดย ไม่ต้องเสี่ยงกับการฉีดสารทึบรังสีและการสวนสายยางเพื่อฉีดสี ซึ่งมี
ประโยชน์   ต่อวงการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะมีความปลอดภัยสูงและค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างต่ำ
นอกจากนี้ยัง   สะดวกสบายกว่าเพราะไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใดๆ ทั้งก่อนและหลังการตรวจ คนไข้สามารถ
 กลับบ้านได้ทันทีที่ตรวจเสร็จ
•   ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อเหมือนใน CT scan เพราะไม่ใช้คลื่นรังสี

                 ปัจจุบันได้มีการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคของกระดูกและข้อเป็นจำนวนมาก การตรวจ MRI จะเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในโพรงกระดูก หรือไขกระดูกได้อย่างชัดเจน เช่น เนื้องอกภายในกระดูก MRI จะสามารถบอกขอบเขตของโรคได้ถูกต้องแม่นยำ                     เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการรักษาโรคของกระดูกบางอย่างเช่น การขาดเลือดไปเลี้ยงที่หัวของกระดูกต้นขา MRI เป็นการตรวจที่ไวที่สุด สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ แม้ภาพเอกซ์เรย์ธรรมดายังปกติอยู่ ข้อที่มีการตรวจ MRI มากที่สุด คือ ข้อเข่า รองลงมา คือ ข้อไหล่ เมื่อสงสัยว่าจะมีการฉีกขาดของเส้นเอ็นหรือกระดูกอ่อนภายในข้อ ภาพ MRIจะเห็นส่วนประกอบต่างๆภายในข้อได้อย่างชัดเจน และบอกได้อย่างแม่นยำ ว่ามีการบาดเจ็บต่อส่วนประกอบเหล่านั้นอย่างไรบ้างก่อนเข้ารับการตรวจ


ข้อควรระวังในการตรวจ เอ็ม อาร์ ไอ

             เนื่องจากเครื่องตรวจ เอ็ม อาร์ ไอ มีสนามแม่เหล็กแรงสูงตลอดเวลา ทำให้มีผลต่อการทำงานของอุปกรณ์ที่มีส่วนผสมของโลหะทั้งที่อยู่ร่างกาย หรือที่ติดมากับผู้ป่วย ดังนั้น ผู้ป่วยต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทราบ ทั้งแพทย์ พยาบาล และผู้ดูแล ในกรณีต่อไปนี้
 ควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่กลัวที่จะอยู่ในที่แคบๆ ไม่สามารถนอนในอุโมงค์ตรวจได้ (claustrophobic) 
ควรหลีกเลี่ยงในรายที่มีโลหะฝังอยู่ในร่างกาย เช่น 

- ที่ผ่าตัดติดคลิปอุดหลอดเลือดในโรคเส้นเลือดโป่งพอง (Aneurism Clips)  

- metal plates ในคนที่ดามกระดูก 

- คนที่เปลี่ยนข้อเทียม 

- คนที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียม (Artificial Cardiac valve) 

- ผู้ที่ผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ  

- ผู้ป่วยที่ใส่ Stent ที่หลอดเลือดหัวใจต้องสอบถามจากแพทย์ที่ใส่ Stent ว่าเป็น Stent ชนิดใดจะทำ MRI ได้
หรือไม่หรือต้องรอกี่สัปดาห์ค่อยทำ ปัจจุบัน Stent ที่หลอดเลือดหัวใจ ถ้าเป็นรุ่น MRI compatible สามารถ
ทำได้ทันทีไม่มีผลเสียใดๆ 

ควรหลีกเลี่ยงในคนที่เตรียมตัวเข้ารับการผ่าตัด สมอง ตา หรือ หู ซึ่งจะต้องฝังเครื่องมือทางการแพทย์ไว้
 (medical devices) 



ผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุที่ลูกตา และสงสัยว่าจะมีโลหะชิ้นเล็กๆกระเด็นเข้าไปในลูกตาหรือมีอาชีพเกี่ยวข้องกับโลหะ และมีความเสี่ยงต่อการมีโลหะชิ้นเล็กๆ กระเด็นเข้าลูกตา ซึ่งถ้าเข้าไปอยู่ในสนามแม่เหล็กอาจมีการ  เคลื่อนที่ของโลหะชิ้นนั้นก่อให้เกิดอันตรายได้ (ภาพเอกซเรย์ธรรมดาของตาจะช่วยบอกได้ว่ามีหรือไม่มีโลหะ  อยู่ในลูกตา) 

• ใส่เหล็กดัดฟัน ถ้าต้องทำ MRI ตรวจในช่วงบริเวณ สมองถึงกระดูกคอควรต้องถอดเอาเหล็กดัดฟัน  ออก

ก่อน เพราะจะมีผลต่อความชัดของภาพ  

• ผู้ที่รับการตรวจร่างกายด้วย MRI จะต้องนำโลหะต่างๆออกจากตัว เช่น กิ๊ฟหนีบผม ฟันปลอม ต่างหู เครื่อง
ประดับ ATM บัตรเครดิต นาฬิกา thumbdrive Pocket PC ปากกา ไม่เช่นนั้น อาจทำให้สิ่งของได้รับความเสีย
หาย และอาจถูกฉุดกระชาก นอกจากนี้ยังทำให้ภาพที่อยู่บริเวณโลหะไม่ชัด 
• ไม่ควรใช้อายชาโดว์ และมาสคาร่า เพราะอาจมีส่วนผสมของโลหะ ทำให้เกิดเป็นสิ่งแปลกปลอมในภาพได้

 การเตรียมตัวเพื่อตรวจ เอ็ม อาร์ ไอ
1.             โดยทั่วไปไม่ต้องงดน้ำและอาหารทางปากก่อนการตรวจ
2.             งดน้ำและอาหารทางปาก 6 ชั่วโมงก่อนตรวจ ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ จำเป็นต้องให้ยาระงับความรู้สึกหรือดมยาสลบ รวมถึงการตรวจช่องท้อง upper abdomen, whole abdomen, lower abdomen, MRCP
3.             เอ็ม อาร์ ไอ ต่อมลูกหมาก (MRI prostate gland) ให้รับประทานอาหารอ่อนกากน้อยก่อนวันตรวจ รวมทั้งงดน้ำและอาหารทางปาก 4-6 ชั่วโมงก่อนตรวจ
4.             วันที่มารับการตรวจ ห้ามใช้เครื่องสำอาง เช่น อายชาโดว์ มาสคาร่า เนื่องจากมีส่วนผสมของโลหะซึ่งจะรบกวนคลื่นแม่เหล็ก
5.             วันตรวจควรมีญาติมาด้วยอย่างน้อย 1 คน
6.             ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องดมยาขณะตรวจ ต้องลงชื่อในใบยินยอมรับการตรวจรักษา ถ้าผู้ป่วยลงชื่อเองไม่ได้ ต้องให้ผู้ดูแลผู้ป่วยโดยชอบธรรมลงชื่อแทน

การปฏิบัติตัวก่อนเข้าห้องตรวจและขณะเข้ารับการตรวจ


1.             เปลี่ยนเสื้อผ้าและสวมรองเท้าที่ห้องตรวจเตรียมไว้ให้

2.             ถอดเครื่องประดับและของใช้ที่เป็นโลหะออกจากร่างกายให้หมด เช่น กิ๊บติดผม ฟันปลอม ต่างหู บัตรที่มีแถบแม่เหล็ก (บัตร ATM หรือบัตรเครดิต) เป็นต้น

3.             ผู้ป่วยที่เคยได้รับการผ่าตัดใส่โลหะในร่างกายหรือวัตถุอื่นๆ ต้องแจ้งให้พยาบาลทราบก่อนเข้าห้องตรวจ

4.             ควรปัสสาวะก่อนเข้าห้องตรวจ เนื่องจากการตรวจต้องใช้เวลานาน
5.             ใช้เครื่องอุดหูที่เจ้าหน้าที่เตรียมไว้ให้ก่อนเข้าห้องตรวจ เนื่องจากจะได้ยินเสียงดังรบกวนในขณะตรวจ
6.             ระหว่างการตรวจ ผู้ป่วยจะต้องนอนนิ่ง ไม่เคลื่อนไหวร่างกายส่วนที่ทำการตรวจเด็ดขาด เพื่อจะได้ภาพที่ชัดเจน
7.             กดสัญญาณขอความช่วยเหลือได้ เมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น แน่น อึดอัด หายใจไม่ออก

การระงับความรู้สึกเพื่อการตรวจวินิจฉัยด้วย เอ็ม อาร์ ไอ


เนื่องจากการทำงานของเครื่องสนามแม่เหล็ก จะมีเสียงดังรบกวนอยู่ตลอดเวลา ผู้ป่วย ต้องนอนนิ่งๆ ห้ามขยับร่างกายส่วนที่ตรวจในระหว่างการตรวจ ซึ่งอาจนานมากกว่า 1 ชั่วโมง ผู้ที่กลัวการอยู่ในที่แคบ อาจรู้สึกกลัวเพราะต้องนอนคนเดียวในอุโมงค์แม่เหล็กที่แคบเป็นเวลานานาน จากข้อเสียดังกล่าวผู้ป่วยบางรายโดยเฉพาะเด็กหรือผู้ป่วยที่มีอาการปวดรุนแรง อาจไม่ให้ความร่วมมือที่จะอยู่นิ่ง ทำให้การตรวจไม่ประสบความสำเร็จ จึงจำเป็นต้องให้ยาระงับความรู้สึก หรือยาคลายความวิตกกังวล


การให้ยาระงับความรู้สึก มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับ

1.             ผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยเด็ก
2.             โรคประจำตัวของผู้ป่วยและข้อห้ามต่างๆ
3.             ความเจ็บป่วยปัจจุบัน เช่น โรคหัวใจ โรคปอด หรือโรคหวัด
4.             ส่วนของร่างกายที่จะทำการตรวจ
5.             ระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจ

คำแนะนำในการปฏิบัติตนในวันมาตรวจ MRI ในผู้ป่วยการระงับความรู้สึก

ปัจจุบันการให้ยาระงับความรู้สึกมีความปลอดภัยสูง ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลจากวิสัญญีแพทย์ และวิสัญญีพยาบาลที่มีความชำนาญ แต่อย่างไรก็ตาม การให้ยาระงับความรู้สึกก็อาจมีความเสี่ยงเช่นเดียวกันกับการระงับความรู้สึกเพื่อการผ่าตัด ผู้ป่วยจึงต้องปฏิบัติตนตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ดังนี้

1.             งดน้ำ งดอาหาร
ผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่มีโรคหรือภาวะที่ทำให้อาหารผ่านกระเพาะได้ช้า ให้งดน้ำและอาหารทางปากทุก
ชนิดก่อนได้รับการตรวจอย่าง น้อย 6 ชั่วโมง สำหรับเด็ก ระยะเวลาการงดน้ำและอาหารขึ้นอยู่กับ
ชนิดข องอาหาร ซึ่งจะเป็นดังตาราง เช่น เด็กที่จะได้รับการตรวจเวลา 09.00 น. ต้องไม่ดื่มนมหรือรับ
ประทานอาหารตั้งแต่เวลา 03.00 น. ของวันที่มาตรวจ
กรณีผู้ป่วยฉุกเฉิน หรือมีภาวะใดๆ ที่ทำให้อาหารผ่านกระเพาะอาหารช้า ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันทีเกี่ยวกับชนิด จำนวน เวลาที่รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม เพราะอาจเกิดการสำลักอาหารเข้าไปในหลอดลมและปอด ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
2.ให้รับประทานยาตามแพทย์สั่งได้
3.มีญาติมาด้วย เพื่อพาผู้ป่วยกลับบ้าน
4.หากมีอาการผิดปกติหรือป่วย เช่น มีไข้ เป็นหวัด ไอ มีน้ำมูก มีโรคประจำตัว หรือแพ้ยา ให้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ทันทีก่อนวัน ตรวจหรือวันที่ตรวจ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

การปฏิบัติตัวภายหลังได้รับยาระงับความรู้สึก

ผู้ป่วยจะอยู่ในความดูแลของทีมวิสัญญีแพทย์และพยาบาลประมาณ 2 ชั่วโมงหลังได้รับยาระงับความรู้สึกเพื่อสังเกตอาหาร จนผู้ป่วยตื่นและรู้สึกตัวดี สามารถกลับบ้านหรือย้ายกลับหอผู้ป่วยได้ โดยดูจาก

1.             สัญญาณชีพ
2.             รู้สึกตัวดี
3.             ทรงตัวได้ ไม่มีอาการวิงเวียนศีรษะ
4.             ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
5.             ถ่ายปัสสาวะได้เอง สะดวกดี
6.             ต้องมีญาติที่สามารถดูแลผู้ป่วยและพากลับบ้านได้ และให้พักผ่อนต่อ ห้ามทำงาน ขับรถ หรือขับขี่พาหนะที่ต้องทรงตัว เพราะอาจยังมียาระงับความรู้สึกเหลือค้างอยู่ และไม่ควรทำนิติกรรมใดๆ ที่มีผลทางกฎหมายภายใน 24 ชั่วโมง
7.             อาหารมื้อแรกหลังได้รับยาระงับความรู้สึก ควรเป็นอาหารเหลว ย่อยง่าย โดยเริ่มจากจิบน้ำ น้ำหวาน ถ้าไม่ สำลักหรืออาเจียนจึงดื่มนม และรับประทานข้าวต้มหรืออาหารอ่อนได้

การปฏิบัติตัวหลังการตรวจ


ผู้ป่วยมาตรวจตามวันที่แพทย์นัดหมาย ไม่ต้องมารับผลการตรวจที่แผนกเอ็กซเรย์ ผลการตรวจจะถูกส่งเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ซึ่งแพทย์ผู้ตรวจสามารถเรียกดูผลการตรวจและภาพเอ็กซเรย์ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ที่ห้องตรวจ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น